Heat Stroke เมื่อสัตว์เลี้ยงเป็นลมแดด วิธีจัดการกับภัยร้ายที่มากับอากาศร้อน

22 เม.ย. 2562 38053
Heat stroke - เมื่อสัตว์เลี้ยงเป็นลมแดด วิธีจัดการกับภัยร้ายที่มากับอากาศร้อน

สวัสดีครับ ในที่สุดปี 2019 นี้ก็เริ่มเข้าสู้หน้าร้อนกันแล้ว แม้ว่าจริง ๆ แล้ว ทุกวันนี้ประเทศไทยเรามันก็เหลือแต่หน้าร้อนหน้าเดียวนั่นแหละ...แต่ก็ไอ้ความร้อนนี่แหละ...ที่กระตุ้นให้หมออยากจะแนะนำโรคยอดฮิตที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยกับสัตว์เลี้ยงแสนรักของเพื่อน ๆ ในยามที่อยู่กับสภาวะแวดล้อมอันแสนร้อนแบบนี้ นั่นก็คือ "โรคลมแดด" หรือ "ฮีทสโตรก" (Heat stroke) นั่นเองครับ

ที่หมอต้องหยิบ เรื่อง โรคลมแดด นี้มาเขียนนั้น เพราะหมอพบว่ามีสัตว์เลี้ยงที่เข้ามารักษาที่แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลสัตว์ต่าง ๆ ด้วยปัญหานี้บ่อยมาก ๆ และโรคนี้นั้นยังมีความรุนแรงค่อนข้างสูง และทำให้ถึงแก่ชีวิตได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย ถ้าสัตว์ป่วยที่เป็นโรคนี้ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สร้างความเสียใจให้กับเหล่าเจ้าของมานักต่อนักแล้ว



โรคลมแดด เกิดขึ้นจากการที่มีอุณหภูมิในร่างกายของสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และร่างกายของสัตว์ไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายของสัตว์ได้ทัน ความร้อนที่เพิ่มมากขึ้นในร่างกาย จึงไปกระตุ้นกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็น ผลเสียต่อร่างกาย ทำให้ระบบ หรืออวัยวะภายในต่าง ๆ เสียหาย ทำให้สัตว์เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาจนถึงแก่ชีวิตได้

โรคลมแดด

สาเหตุหลัก ที่ทำให้อุณหภูมิในร่างกายของสัตว์สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนระบายไม่ทันนั้นมาจาก สัตว์เหล่านั้นอยู่ท่ามกลางอากาศที่ร้อนมาก เช่น ตากแดดมาเป็นระยะเวลานาน หรือถูกขังในห้องที่มีอากาศร้อนและอากาศไม่ถ่ายเท เป็นต้น นอกจากนี้การออกกำลังกายท่ามกลางอากาศร้อน การขาดน้ำดื่มในวันที่อากาศร้อน ก็ยังเป็นปัจจัยโน้มนำทำให้เกิดโรคลมแดดได้เช่นเดียวกัน

สาเหตุหลักของโรคลมแดด ตากแดด มาเป็นเวลานาน ตากแดด มาเป็นเวลานาน
สาเหตุหลักของโรคลมแดด ถูกขังอยู่ในรถยนต์ ถูกขังอยู่ในรถยนต์ ที่มีอากาศร้อนและอากาศไม่ถ่ายเท
สาเหตุหลักของโรคลมแดด ออกกำลังกายท่ามกลางอากาศร้อน ออกกำลังกาย ท่ามกลางอากาศร้อน
สาเหตุหลักของโรคลมแดด ขาดน้ำดื่มในวันที่อากาศร้อน ขาดน้ำดื่ม ในวันที่อากาศร้อน

โรคลมแดดสามารถเกิดขึ้นได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกือบทุกชนิด เช่น สุนัข แมว กระต่าย กระรอก หนูแกสบี้ หนูแฮมสเตอร์ ชูการ์ไกรเดอร์ เฟอเรท หรือแม้แต่ปลาโลมา เป็นต้น ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ สัตว์เลี้ยงที่มีร่างกายอ่อนแออยู่แล้ว แก่ชรา อ้วน พันธุ์ขนยาว พันธุ์ที่มีใบหน้าสั้น หรือสัตว์ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีกลไกการระบายความร้อนที่เป็นกลไกหลัก คือ การระบายความร้อนผ่านทางการหายใจด้อยกว่าสัตว์เลี้ยงทั่วไป ทำให้การระบายความร้อนออกจากร่างกายมีปัญหาและเกิดโรคลมแดดได้

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

อาการของโรคลมแดด ในตอนเริ่มแรกนั้นพบว่า สุนัขจะอ้าปากหอบหายใจหอบรุนแรง กระวนกระวาย ลิ้นและเหงือกมีสีแดงจัด น้ำลายไหล อาเจียน จับที่ตัว จะพบว่าร้อนกว่าปกติ ถ้าเจ้าของนำปรอทวัดอุณหภูมิเสียบไปที่ทวาร จะพบว่า มีอุณหภูมิมากกว่า 40 °C (105 °F) ในรายที่อาการรุนแรงมากขึ้นจะพบว่า สัตว์จะมีอาการอ่อนแรง เหงือกและลิ้นอาจเปลี่ยนเป็นสีซีด ล้มลงนอน ชัก หรืออาจหมดสติไป ซึ่งอาจเสียชีวิตในเวลาต่อไป ถ้าช่วยเหลือไม่ทันท่วงที

อาการของโรคลมแดด

วิธีปฐมพยาบาลสัตว์ป่วยจากโรคลมแดดในเบื้องต้น สามารถทำได้ ดังนี้

สภาวะแวดล้อม 1. ย้ายสัตว์ป่วยออกจากสภาวะแวดล้อมที่มีอากาศร้อน อาจนำไปหลบที่บริเวณที่มีร่มเงา หรือห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
ปลดสายรัดอกหรือสายรัดคอ 2. ถอดเสื้อและปลดสายรัดอก หรือสายรัดคอ ออกจากตัวสัตว์ป่วย ไม่ควรห่มผ้า และนำสัตว์ป่วยไปไว้ในกรงหรือกล่องทึบ
ปลดสายรัดอกหรือสายรัดคอ 3. เปิดพัดลมเป่า ไปจ่อ ยังตัวสัตว์ป่วย
น้ำเย็นช่วยระบายความร้อน 4. ใช้น้ำเย็นธรรมดาอาบ หรือเช็ดตัวสัตว์ป่วย เพื่อระบายความร้อน (ห้ามใช้น้ำเย็นจัด หรือ น้ำจากน้ำแข็ง เพราะจะทำให้การระบายความร้อนลำบากมากขึ้น)
ดื่มน้ำเย็น 5. ถ้าสัตว์ป่วยยังมีสติอยู่ ให้สัตว์ได้ดื่มน้ำเย็น แต่ห้ามบังคับในกรณีที่สัตว์ป่วยไม่ยอมหรือหมดสติ
ส่งโรงพยาบาล 6. รีบนำสัตว์ป่วยไปส่งที่โรงพยาบาล เพื่อให้สัตวแพทย์ได้ทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคลมแดดต่อไป (ระหว่างนำสุนัขไปส่งโรงพยาบาล อย่าลืมเปิดแอร์ในรถให้เย็น ๆ ด้วยนะ)

เนื่องจากบ้านเรานั้น มีอากาศที่ร้อนอยู่แทบจะตลอดเวลา เจ้าของสัตว์จึงควรรู้จักการป้องกันการเกิดโรคลมแดด ไม่ให้เกิดโรคที่อันตรายนี้ แก่สัตว์เลี้ยงที่เรารัก
วิธีเหล่านี้เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยทำให้สัตว์เลี้ยงที่เจ้าของรักปลอดภัย จากโรคลมแดดได้


  • หลีกเลี่ยงการปล่อย หรือขังสัตว์เลี้ยงของเรา ไว้ในที่ ๆ อากาศร้อนและไม่มีอากาศถ่ายเท
    เช่น ในรถยนต์ ห้องที่ร้อนและปิดทึบ
  • หลีกเลี่ยงการนำสัตว์เลี้ยงไปออกกำลังกายในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด
    เช่น ตอนเที่ยงหรือบ่าย หรือกลางแสงแดดจัด โดยเฉพาะสุนัขพันธ์หน้าสั้น พันธุ์ที่มีขนหนา-ยาว และมีรูปร่างอ้วน
  • มีแหล่งน้ำสะอาดให้สัตว์เลี้ยงกินได้ตลอดเวลา
    หรืออาจให้น้ำเย็นแช่น้ำแข็งไว้ดื่มได้ในวันที่อากาศร้อนเป็นพิเศษ
  • ในวันที่มีอากาศร้อนอาจปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ หรือเปิดพัดลมให้
  • ควรมีร่มเงา หรือที่บังแดดสำหรับสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงนอกบ้าน
  • สำหรับสุนัขพันธุ์ขนยาว
    เจ้าของควรพาไปตัดขนกับช่างแต่งขนสัตว์ เพื่อตัดขนให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ
  • สำหรับสัตว์เลี้ยงตัวเล็ก ๆ ที่อยู่ในกรง
    เช่น กระต่าย ชูการ์ไกรเดอร์ หนูแกสบี้
    เจ้าของไม่ควรวางกรงที่มีตัวสัตว์อยู่ทิ้งไว้กลางแดด หรือทิ้งไว้ในห้องที่อากาศอบอ้าวไม่มีอากาศถ่ายเท

วิธีป้องกันโรคลมแดด เตรียมน้ำสะอาดให้สัตว์เลี้ยง เตรียม น้ำสะอาด ให้สัตว์เลี้ยง
เปิดพัดลมในวันที่อากาศร้อน เปิดพัดลม ในวันที่อากาศร้อน
มีร่มเงาที่บังแดด มี ร่มเงา ที่บังแดด
สำหรับสุนัขขนยาว ตัดแต่งขน ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ตัดแต่งขน ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ

อ.ดร.น.สพ. ถิรวุฒิ คงตาทราย

PhD
ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ความคิดเห็น

Petch Suppakarnpanich
ได้ความรู้มากๆเลยค่ะ

1 ให้คะแนนสำหรับข้อความนี้
supanat kamol
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ

1 ให้คะแนนสำหรับข้อความนี้
Pages : 1

ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น

"โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น"
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)
Top