พาราเซตามอล ยาอันตราย สำหรับน้องแมว

2 มิ.ย. 2560 8884
พาราเซตามอล ยาอันตราย สำหรับน้องแมว

ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือ อะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) จัดเป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่คนไทยเรารู้จักกันดีและมักจะมีติดบ้านกันไว้เสมอ

พาราเซตามอล

แต่ทราบหรือไม่ว่า...ยาชนิดนี้จัดเป็น ยาที่มีอันตรายมาก สำหรับน้องแมว เรียกได้ว่า หากเผลอป้อนให้ไปเพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้น้องแมวเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว


ทั้งนี้เนื่องจากร่างกายของแมวไม่สามารถกำจัดสารพิษ (toxic metabolite) ที่เกิดจากยาพาราเซตามอลได้ดีเท่าที่ควร จึงทำให้มีการสะสมคั่งค้างของสารพิษเหล่านี้ แล้วเกิดอันตรายต่อร่างกายตามมา

โดยสารพิษนี้จะทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นกับเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงเสียหาย หรือสูญเสียความสามารถในการขนส่งออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายของน้องแมวเกิดภาวะขาดออกซิเจนตามมา นอกจากนี้สารพิษที่เกิดขึ้นก็อาจเป็นอันตรายต่อตับและไตอีกด้วย ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ก็มักจะทำให้น้องแมวเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

น้องแมวได้รับพิษจากยาพารา

น้องแมวได้รับพิษจากยาพารา

น้องแมวได้รับพิษจากยาพารา

ขอบคุณรูปภาพจาก สพ.ญ.ศิยานนท์ อาจเอื้อ และ สพ.ญ. ภีท เลิศพนมทอง

อาการของน้องแมวที่ได้รับพิษจากยาพาราเซตามอล อาจเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ขึ้นกับปริมาณของยาที่ได้รับเข้าไป ร่วมกับปัจจัยเฉพาะของแมวแต่ละตัวด้วย อย่างไรก็ดี อาการเด่น ๆ ที่มักพบก็คือ

  • น้องแมวจะแสดง อาการซึม อ่อนแรง หายใจลำบาก
  • เหงือกและเยื่อเมือกต่าง ๆ (เช่น ที่ริมฝีปากด้านใน) เปลี่ยนเป็นสีคล้ำ เนื่องจากเนื่อเยื่อต่าง ๆ ขาดออกซิเจน บางรายอาจพบ อาการบวมที่ใบหน้าและอุ้งเท้า ร่วมด้วย
  • น้องแมวอาจแสดงอาการที่ไม่จำเพาะอื่น ๆ เช่น อาเจียน คลื่นไส้ ปวดท้อง ปัสสาวะเป็นสีเลือด ฯลฯ

ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นค่อนข้างไว โดยอาจพบได้ตั้งแต่ ภายใน 1-4 ชั่วโมง หลังจากได้รับยาเข้าไป

อาการซึม อ่อนแรง หายใจลำบาก อาการซึม อ่อนแรง หายใจลำบาก
อาการบวมที่ใบหน้าและอุ้งเท้า อาการบวมที่ใบหน้าและอุ้งเท้า
อาเจียน คลื่นไส้ อาเจียน คลื่นไส้

ยาทุกอย่าง... แม้จะมีคุณอนันต์แต่ก็มีโทษมหันต์แฝงอยู่ด้วยเสมอ หากนำมาใช้ผิดวิธีหรือใช้อย่างไม่ระมัดระวัง โดยเฉพาะกรณีการนำมายาพาราเซตามอล มาใช้กับน้องแมว โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นี้ ก็อาจเป็นโทษมหันต์ถึงชีวิตเลยทีเดียว


ควรพาไปให้สัตวแพทย์

ดังนั้น ถ้ารู้สึกว่าน้องแมวของเราป่วยหรือมีไข้ ไม่ควรทดลองป้อนยาเอง (โดยเฉพาะยาพาราเซตามอล) แต่ควรพาไปให้สัตวแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงของโรค ร่วมกับการให้การรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมจะดีกว่าครับ

น้องแมวได้รับพิษจากยาพารา

น้องแมวได้รับพิษจากยาพารา

ขอบคุณรูปภาพจาก สพ.ญ.ชีวิตา กาญจนเสริม
ห้องฉุกเฉิน

หมายเหตุ:

  • ในปีหนึ่ง ๆ มีน้องแมวจำนวนไม่น้อยที่ถูกนำส่งมายังห้องฉุกเฉิน เนื่องจากได้รับ การป้อนยาพาราเซตามอลเข้าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และครึ่งหนึ่งของแมวเหล่านี้ เสียชีวิต !!
  • ยาพาราเซตามอลในบ้านเรา มีหลากหลายยี่ห้อ หลากหลายชื่อการค้า โดยมักเป็นยาที่ถูกระบุว่ามีสรรพคุณในการแก้ไข้ - ลดปวด - ลดอักเสบ นอกจากนี้ ยาแก้ไข้สำหรับเด็กบางยี่ห้อ ก็มีส่วนผสมของยาพาราเซตามอลอยู่ด้วย

อ.น.สพ. เสลภูมิ ไพเราะ

DVM
ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น

"โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น"
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)
Top