Narm

พยาธิหนอนหัวใจ

ถามเมื่อ 19 ม.ค. 2562 450
สุนัขอายุ 10 ปีกว่าๆ  ตรวจเลือดพบ microfilaria และเกล็ดเลือดต่ำ ปัจจุบันมีวิธีรักษาที่ผลข้างเคียงไม่รุนแรงไหมคะ

ความคิดเห็น

อาจารย์หมอซัน
อ.ดร.น.สพ. ถิรวุฒิ คงตาทราย
PhD
ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ในเรื่องของการตรวจเจอตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจหรือ microgilaria นั้น เป็นข้อบ่งชี้ว่าสุนัขนั้นมีการติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจมาแล้วอย่างน้อย 6-7 เดือน และมีตัวแก่อยู่ที่หัวใจห้องขวาหรือหลอดเลือดแดงสู่ปอด (pulmonary artery) เบื้องต้นแนะนำว่าควรทำการตรวจหัวใจด้วยการ x-rays และอัลตราซาวด์เพื่อดู การมีอยู่ของพยาธิหนอนหัวใจ การทำงานของหัวใจ และความผิดปกติที่มีอยู่ เพื่อจะได้รักษาโรคหัวใจควบคู่ไปกับการรักษาพยาธิหนอนหัวใจไปด้วย

การรักษาพยาธิหนอนหัวใจนั้นมีหลายวิธี ตั้งแต่วิธีการรักษาอย่างเฉียบพลันโดยการให้ยาเพื่อฆ่าตัวแก่ และฆ่าตัวอ่อน ซึ่งมีรายละเอียดและขั้นตอนค่อนข้างมาก ซึ่งเจ้าของควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนการรักษากับคุณหมอเจ้าของไข้ ทั้งนี้การรักษาวิธีนี้นั้นค่อนข้างมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง แต่ข้อดีคือ การฆ่าพยาธิหนอนหัวใจไปมีโอกาสทำให้โรคหัวใจที่ยังอยู่ในระดับที่ไม่แย่มากนักไม่พัฒนาไปสู่ระดับที่รุนแรงขึ้น

ส่วนวิธีที่มีผลข้างเคียงน้อยนั้นก็สามารถทำได้ โดยการใช้ยาที่มีฤทธิ์ฆ่าตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจในระดับยาที่มีฤทธิ์ป้องกันการเติบโตของตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจ ไม่ให้โตไปเป้นตัวแก่ ลดจำนวนของตัวอ่อนลง และรอเวลาให้ตัวแก่ค่อยๆแก่ตายไปเอง ทั้งนี้การรักษาโดยวิธีนี้นั้นอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงจากการรักษาน้อย แต่ไม่สามารถหยุดผลกระทบของพยาธิหนอนหัวใจที่มีต่อหัวใจได้ และมีโอกาสที่ตัวอ่อนจะเกิดการดื้อยาได้เช่นกัน

การที่จะเลือกวิธีไหนนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเจ้าของและคุณหมอเจ้าของไข้ที่ทำการรักษาสุนัข และขึ้นกับสภาพของสุนัขโดยรวม ระดับการติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจ และระดับความผิดปกติของหัวใจด้วยครับ

0 ให้คะแนนสำหรับคำตอบนี้
Pages : 1

ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น

"โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น"
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)

Top