Kanjapoj

สุนัขแก่ ไม่ยอมเดิน ก่อนหน้ามีอาการเดินไม่สะดวก

ถามเมื่อ 24 ต.ค. 2560 5751
รบกวนปรึกษาอาการดังนี้ค่ะ

สุนัข เพศผู้ อายุ 14 ปี น้ำหนักประมาณ 22 กิโลกรัม พันธุ์ผสม (สุนัขไทยจากที่วัด)
ก่อนหน้านี้ประมาณมีอาการเดินไม่สะดวก ลุกนั่งไม่ถนัด มาเมื่อวานนี้ ลุกขึ้นไม่ได้ ถ่ายเหลว
นอนตลอดเวลา พอไปจับขยับจะร้อง
เวลาประคองยังพยายามเดินอยู่ วันนี้ทานอาหารน้อยลง ให้ทานกลูโคส
และนมชงสำหรับสุนัข  เมื่อเช้ามีอาการอาเจียร (นอนอาเจียร)
ดูจากอาการแล้ว คิดว่าอาจจะเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม
แต่ในช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่พบว่าคุณแม่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง
ดิฉันก็ใช้วันลาพาคุณแม่ไปหาหมอบ่อยมาก และไม่ค่อยได้ดูแล้วเค้าเลย
สัปดาห์นี้กว่าจะพาไปหาหมอได้คงวันเสาร์ที่28/10/60 เพราะกลางวันต้องมาทำงาน
ถ้าเย็นนี้พามาฉุกเฉินที่รพสจุฬาเค้าจะรับไหมคะ
อาการเค้าไม่ค่อยดี ดิฉันก็ไม่สบายใจ  ไม่รู้จะทำอย่างไร
สามารถใช้ยาตัวไหนได้ไหมคะ
อยากให้เค้าลดความเจ็บปวด เผื่อจะกินได้มากขึ้น
หรือแอดมินพอจะมีแนะนำคุณหมอที่มาตรวจที่บ้านบ้างไหมคะ (บ้านอยู่

ความคิดเห็น

อาจารย์หมอเส
อ.น.สพ. เสลภูมิ ไพเราะ
DVM
ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ในสุนัขที่สูงวัย มักมีปัญหาความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งระบบกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูก ตลอดจนระบบประสาทด้วย ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวเหล่านี้ อาจส่งผลให้สุนัขมีอาการลุก - นั่ง - ยืน - เดิน ได้ผิดปกติไปจากที่เคย แต่นอกจากความผิดปกติดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ยังพบว่าความผิดปกติทางระบบร่างกายอื่นๆ ก็อาจส่งผลให้สุนัขมีอาการอ่อนแรง ได้เช่นเดียวกันครับ ซึ่งการจะวินิจฉัยว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากสาเหตุใด จำเป็นต้องได้รับการตรวจร่างกายโดยละเอียด ร่วมกับการใช้เครื่องมือช่วยวินิจฉัยต่างๆ เช่น การตรวจทางห้องปฏิบัติการ , การถ่ายภาพรังสีของข้อต่อหรือกระดูก ฯลฯ ดังนั้น แนะนำให้พาสุนัขป่วยของท่านเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไปครับ 

ในการเข้าตรวจที่แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลต่างๆ นั้น แต่ละโรงพยาบาลก็อาจจะมีแนวทางการประเมินคัดกรองผู้ป่วยที่แตกต่างกันออกไปบ้าง แต่จะเป็นไปตามหลักการทางอายรุศาสตร์ที่มีความเหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาการด้วยกันทุกโรงพยาบาลครับ ซึ่งคุณหมอผู้ตรวจทุกๆ ท่าน เมื่อได้พบสัตว์ป่วย ก็จะทำการประเมินคัดกรองผู้ป่วย รวมทั้งให้การวินิจฉัยและรักษา หรือให้คำแนะนำเบื้องต้นอย่างเหมาะสม โดยหากเป็นกรณีห้องฉุกเฉิน ก็จะเป็นการให้บริบาลตามลำดับความสำคัญเร่งด่วนของสัตว์ป่วยแต่ละรายต่อไปครับ  (เกณฑ์พื้นฐานของกรณีฉุกเฉินนั้น มักจะหมายรวมถึงภาวะต่างๆ ที่มีโอกาสทำให้สัตว์ป่วยเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น หากไม่ได้รับการรักษา ฯลฯ ครับ) 

ยาที่ใช้ในการบรรเทาอาการปวดมีอยู่หลายรูปแบบ และมีกลไกที่แตกต่างกันไป และที่สำคัญก็คือ มีผลกระทบต่อร่างกายแตกต่างกันด้วย โดยยาบางตัว อาจทำให้เกิดความเสียหายของระบบร่างกายบางระบบได้ หากใช้ด้วยความไม่ระมัดระวังหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้น แนะนำให้พาสุนัขไปรับการตรวจประเมิน และรับการวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม ย่อมจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อตัวสัตว์ป่วยครับ 

0 ให้คะแนนสำหรับคำตอบนี้
Pages : 1

ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น

"โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น"
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)

Top